บทที่1 ความปลอดภัยและทักษะในปฏิบัติการเคมี


บทที่1 ความปลอดภัยและทักษะในการปฏิบัติการเคมี

  ประเภทของสารเคมี
         1.ชื่อผลิตภัณฑ์
         2.รูปสัญลักษณ์แสดงความเป็นอันตรายของสารเคมี
         3.คำเตือน ข้อมูลความเป็นอันตรายและข้อควรระมัดระวัง
         4.ข้อมูลของผู้ผลิตสารเคมี
   

     ข้อควรปฏิบัติในห้องปฏิบัติการเคมี

       1. 1.ต้องระลึกอยู่เสมอว่า ห้องปฏิบัติการทดลองเป็นสถานที่ทำงาน ต้องทำการทดลองด้วยความตั้งใจ

       2. 2.ต้องอ่านคู่มือห้องปฏิบัติการทดลองก่อนที่จะห้องปฏิบัติการทดลอง และพยายามทำความเข้าใจถึง        ขั้นตอนการทดลอง หากไม่เข้าใจให้ถามอาจารย์ผู้ควบคุมก่อนการทดลอง

       3. 3.อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่นำมาใช้ในการทดลองต้องสะอาด ความสกปรกเป็นปัจจัยสำคัญทำให้ผลการทดลองผิดพลาด

  3.1. 4.เมื่อต้องการใช้สารละลายที่เตรียมไว้ ต้องรินลงในบีกเกอร์ โดยรินออกมาประมาณเท่ากับจำนวนที่ต้องใช้ ถ้าสารละลายเหลือให้เทลงในอ่าง อย่าเทกลับลงในขวดเดิม

       4. 4.เมื่อต้องการใช้สารละลายที่เตรียมไว้ ต้องรินลงในบีกเกอร์ โดยรินออกมาประมาณเท่ากับจำนวนที่ต้องใช้ ถ้าสารละลายเหลือให้เทลงในอ่าง อย่าเทกลับลงในขวดเดิม

       5. 5.ถ้ากรดหรือสารเคมีที่เป็นอันตรายถูกผิวหนังหรือเสื้อผ้าต้องรีบล้างด้วยน้ำทันทีเพราะสารเคมีหลายชนิดซึมเข้าไปผิวหนังอย่างรวดเร็ว และเกิดเป็นพิษขึ้นมาได้

      6. 6.อย่าเทน้ำลงบนกรดเข้มข้นไดๆ แต่ค่อย ๆ เทกรดเข้มข้นลงในน้ำช้า ๆ พร้อมกวนตลอดเวลา

      7. 7.เมื่อต้องการดมสารเคมี อย่าดมโดยตรง ควรใช้มือพัดกลิ่นสารเคมีเข้าจมูกเพียงเล็กน้อย (อย่าสูดแรง)

      8. 8.ออกไซด์ ของธาตุบางชนิดเป็นพิษหรือสารที่ไวต่อปฏิกิริยาหรือสารที่มีกลิ่นเหม็น การทดลองใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับก๊าซนี้ควรทำในตู้ควัน

      9. 9.อย่ากินอาหารในห้องปฏิบัติการ เพราะอาจมีสารเคมีปะปน ซึ่งสารเคมีบางชนิดอาจมีพิษหรือเป็นอันตรายต่อสุขภาพ

     10. 10.ต้องทำการทดลองด้วยความระมัดระวังที่สุด ความประมาทเลินเล่ออาจทำให้เกิดอันตรายต่อตัวเองได้

    11. การกำจัดสารอันตรายที่หกหล่น รั่วไหล

11.1. 1.เมื่อสารเคมีหกอาจเกิดอันตรายได้หากไม่ระมัดระวัง เพราะสารเคมีบางชนิดเป็นพิษต่อร่างกาย บางชนิดติดไฟง่าย ดังนั้นเมื่อสารเคมีหกจะต้องรีบเก็บกวาดให้เรียบร้อยทันที

   12. 1.เมื่อสารเคมีหกอาจเกิดอันตรายได้หากไม่ระมัดระวัง เพราะสารเคมีบางชนิดเป็นพิษต่อร่างกาย บางชนิดติดไฟง่าย ดังนั้นเมื่อสารเคมีหกจะต้องรีบเก็บกวาดให้เรียบร้อยทันที

   13. 2.สารที่เป็นของแข็ง สารเคมีที่เป็นของแข็งหก ควรใช้แปลงกวาดรวมกันใส่ในช้อนตักแล้วจึงนำไปใส่ในภาชนะ

   14. 3.สารละลายที่เป็นกรด เมื่อกรดหกต้องรีบทำให้เจือจางด้วยน้ำก่อนแล้วโรยโซดาแอส หรือสารละลายด่างเพื่อทำให้กรดเป็นกลางจากนั้นจึงล้างด้วยน้ำสะอาด

   15. 4. ข้อควรระวัง เมื่อเทน้ำลงบนกรดเข้มข้นที่หก เช่น กรดกำมะถัน จะมีความร้อนเกิดขึ้นและกรดอาจกระเด็นออกมา จึงควรเคย ๆ เทน้ำลงไปมาก ๆ เพื่อให้เกิดการเจือจางและความร้อนที่เกิดขึ้นรวมทั้งการกระเด็นจะน้อยลง

   16. 5.สารละลายที่เป็นด่าง เมื่อสารเคมีที่เป็นของด่างหก ต้องเทน้ำลงไปเพื่อลงความเข้มข้นของด่างแล้วเช็ดให้แห้งพยายามอย่าให้กระเด็นขณะเช็ด เนื่องจากสารละลายด่างจะทำให้พื้นลื่น

   17. 6.สารที่ระเหยง่าย เมื่อสารเคมีที่ระเหยง่ายหกจะระเหยกลายเป็นไออย่างรวดเร็วบางชนิดติดไฟได้ง่าย บางชนิดเป็นอันตรายต่อผิวหนังและปอด การทำความสะอาดสารระเหยง่ายทำได้ดังนี้

17.1. 6.1 ถ้าสารที่หกมีปริมาณน้อย ใช้ผ้าขี้ริ้วเช็ดถูออก

17.2. 6.2 ถ้าสารที่หกมีปริมาณมาก ทำให้แห้งโดยใช้ไม้ที่มีปุยผูกที่ปลายสำหรับเช็ดถู

  18. 7.สารที่น้ำมัน สารพวกนี้เช็ดออกได้โดยใช้น้ำมาก ๆ เมื่อเช็ดออกแล้วพื้นบริเวณที่สารหกจะมีกลิ่นให้ล้างด้วยผงซักฟอก เพื่อสารที่ติดอยู่ออกไปให้หมด


  19. 8.สารปรอท สารปรอทไม่ว่าอยู่ในรูปไดล้วนเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตทั้งสิ้นเพราะทำอันตรายต่อระบบประสาท



 อุปกรณวัดปริมาตร

     1.บีกเกอร์ มีลักษณะเป็นทรงกระบอกปากกว้าง

                  2.ขวดรูปกรวย มีลักษณะคล้ายผลชมพู่ มีขีดบอกปริมาตรในระดับมิลลิลิตรมีหลายขนาด





      3. กระบอกตวง มีลักษณะเป็นทรงกระบอก มีขีดบอกปริมาตรในระดับมิลลิลิตร มีหลายขนาด

4.ปิเปตต์  เป็นอุปกรณ์วัดปริมาตรที่มีความแม่นสูง   ซึ่งใช้สำหรับถ่ายเทของเหลว

5.บิวเรตต์ เป็นอุปกรณ์สำหรับถ่ายเทของเหลวในปริมาตรต่างๆตามต้องการ

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ บิวเรต


6.ขวดกำหนดปริมาตร  เป็นอุปกรณ์สำหรับวัดปริมาตรของของเหลวที่บรรจุภายใน ใช้สำหรับเตรียมสารละลายที่ต้องการความเข้มข้นแน่นอน
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ขวดกําหนดปริมาตร


เลขนัยสำคัญ

                      การนับเลขนัยสำคัญ

  1. เลข 1 ถึง 9 ให้นับเป็นเลขนัยสำคัญ  เช่น
    • 45  มีเลขนัยสำคัญ 2 ตัว
    • 548  มีเลขนัยสำคัญ 3 ตัว
    • 656.54 มีเลขนัยสำคัญ 5 ตัว
  2. เลข 0 อยู่ระหว่างตัวเลข(1-9) ให้นับเป็นเลขนัยสำคัญ  เช่น
    • 3005  มีเลขนัยสำคัญ 4 ตัว
    • 50.005  มีเลขนัยสำคัญ 5 ตัว
    • 8.0002  มีเลขนัยสำคัญ 5 ตัว
  3. เลข 0 อยู่หลังตัวเลข(1-9) และมีจุดทศนิยมให้นับเป็นเลขนัยสำคัญ  เช่น
    • 4.0  มีเลขนัยสำคัญ 2 ตัว
    • 180.03  มีเลขนัยสำคัญ 5 ตัว
    • 801  มีเลขนัยสำคัญ 3 ตัว
  4. เลข 0 อยู่ด้านซ้ายมือของตัวเลขไม่นับเป็นเลขนัยสำคัญ
    • 007  มีเลขนัยสำคัญ 1 ตัว
    • 0.035  มีเลขนัยสำคัญ 2 ตัว
    • 0.004004500  มีเลขนัยสำคัญ 7 ตัว
  5.   ไม่นับเป็นเลขนัยสำคัญ !!!

ตัวอย่างการนับเลขนัยสำคัญ

Ex. 0.00000008 มีเลขนัยสำคัญกี่ตัว
  • ตอบ 1 ตัว
Ex. 82.0054  มีเลขนัยสำคัญกี่ตัว
  • ตอบ 6 ตัว
Ex. 0.503  มีเลขนัยสำคัญกี่ตัว
  • ตอบ  3 ตัว
การปัดตัวเลข (Rounding the results) 

                  1.  ถ้าตัวเลขที่ตามหลังเลขนัยสำคัญวัสุดท้ายมากกว่า 5 ให้ตัดตัวเลขสุดท้ายทิ้ง และให้ ปัดเพิ่มจำนวนของเลขนัยสำคัญตัวสุดท้ายอีก1 แต่ถ้าเลขตัวสุดท้ายต่ำกว่า5 ให้ตัดทิ้ง
                2.ถ้าตัวเลขที่ตามหลังเลขนัยสำคัญตัวสุดท้ายเป็ นเลข5 หรือเลข 5 และมีเลข 0 ตามหลัง ให้ใช้หลักเกณฑ์ต่อไปนี้
                  2.1 ถา้เลขนัยสำคัญตัวสุดท้ายเป็นเลขคู่ หรือเป็น 0 ให้ปัดเลข 5 ทิ้งไป โดยไม่มี การเปลี่ยนแปลงใด ๆ 
                  2.2 ถ้าเลขนัยสำคัญตัวสุดท้ายเป็นเลขคี่ แล้วตามมาด้วยเลข 5 ให้ปัดเพิ่มเลขนัยสำคัญตัวสุดท้ายอีก 1
                   3. ถ้าตัวเลขที่ตามหลังเลขนัยสeคัญตัวสุดท้ายเป็นเลข 5 และมีตัวเลขตามหลังเลข 5 ไม่ว่าจะเป็นเลขอะไรก็ตาม ยกเว้น เลข0 ให้ตัดเลข 5 ทิ้งและปัดเพิ่มเลขนัยสำคัญตัวสุดท้ายอีก1

          การบวกและการการลบ
    ในการบวกและลบ ผลลัพท์ที่ได้จะมีจำนวนตัวเลขที่อยู่หลังจุดทศนิยม้ท่ากับข้อมูลที่มีจำนวนตัวเลขที่อยู่หลังจุดทศนิยมน้อยที่สุด

         การคูณและการหาร
     ในการคูณและการหาร ผลลัพธ์ที่ได้จะมีจำนวนเลขนัยสำคัญเท่ากับข้อมูลที่มีเลขนัยสำคัญน้อยที่สุด

         หน่วยวัด
             1.หน่วยระบบเอสไอ    ระบบหน่วยวัดระหว่างประเทศ หรือ ระบบเอสไอ (อังกฤษ: International System of Units ฝรั่งเศส: Système international d'unités: SI[2]) เป็นระบบการวัดที่ปรับปรุงมาจากระบบเมตริก โดยเน้นการสร้างมาจากหน่วยฐานทั้งเจ็ดหน่วยและใช้ระบบเลขฐานสิบ[3] ซึ่งถือว่าเป็นระบบการวัดที่ใช้แพร่หลายที่สุดในโลกทั้งในชีวิตประจำวันและทางวิทยาศาสตร์
ระบบเมตริกแต่เดิมนั้นแบ่งออกเป็นหลายกลุ่ม โดยระบบเอสไอได้รับการพัฒนามาจากระบบหน่วยเมตร-กิโลกรัม-วินาที (meter-kilogram-second: MKS) ในปี ค.ศ. 1960 และได้ปรับเปลี่ยนนิยามรวมถึงเพิ่มลดหน่วยฐานเอสไอมาตลอดตามการพัฒนาเทคโนโลยีทางด้านการวัด เพื่อเพิ่มความเที่ยงตรงในการวัดมากขึ้น
       2.แฟกเตอร์เปลี่ยนหน่วย   แฟคเตอร์แปลงหน่วย (Conversion factor) :  แฟคเตอร์แปลงหน่วย ความเข้มข้นของก๊าซและไอระเหยสารเคมีมักจะกำหนดไว้เป็นหน่วยส่วนในล้านส่วน (ppm) เพื่อความสะดวกของผู้ใช้งานให้สามารถแปลงหน่วยไปเป็นมิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (mg/m3) และจาก mg/m3 เป็น ppm ที่อุณหภูมิปกติ 25 องศาเซลเซียส โดยกำหนดให้สาร 1 โมล มีปริมาตร = 24.45 ลิตร





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เครื่องทำความสะอาดแบบแห้งเร็วและไม่แพง   เมื่อเร็วๆนี้ นักศึกษาจบใหม่ด้านวิศวกรรมศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเพอร์ดูในอเมริกา ได้พัฒนาเคร...